วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552

คำยกย่องหนังสือมหายันต์หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ

                 คุณวรวิทย์เป็นคนที่ผมรู้จักมักคุ้นในฐานะที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาที่โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา จังหวัดสกลนคร ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันทำให้รู้จักคุณวรวิทย์ มากขึ้นและการที่ได้พบปะกันสม่ำเสมอทำให้ผมได้รู้จักตัวตนที่แท้จริงของคุณวรวิทย์มากขึ้นอย่างแจ้งชัด ในเรื่องของความศรัทธาในพระพุทธศาสนา การทำบุญเฉพาะตัว และการทำบุญของผู้คนในสังคม คุณวรวิทย์ไม่เคยปฏิเสธ ผมไม่รู้ว่าคุณวรวิทย์จะสั่งสมบุญไปเพื่อจะกลับมาเกิดอีกหรือเปล่า (จะต้องถามเจ้าตัวดู) หรือเพื่อจะสั่งสมบุญไว้เพื่อจะต้องไม่กลับมาก่อภพก่อชาติอีก นี่แหละความเป็นตัวตนของคุณวรวิทย์

              อีกสิ่งหนึ่งหรืออีกหลายสิ่งที่คุณวรวิทย์ทำ เช่น การทำบุญกับงานบุญกฐิน ผ้าป่า สร้างวัด พระพุทธรูป เครื่องรางของขลัง และรวมถึงเรื่องบุญไม่เคยขาดว่างเว้นจากการทำบุญ ในส่วนหนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระอาจารย์ที่เคารพ คุณวรวิทย์ได้พยายามแจกจ่ายโดยไม่คิดมูลค่าเป็นเงินทอง ขอให้ได้ทำก็เป็นความสุขใจที่ได้ตอบแทนพระคุณครูบาอาจารย์ที่ตนเองเคารพนับถือ

            หนังสือมหายันต์หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ เป็นหนังสือที่กล่าวถึงยันต์ของหลวงปู่ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และทำไมยันต์มหาปรารถนาจึงมีความสำคัญ คุณวรวิทย์ได้พยายามศึกษาและค้นคว้านำเสนอในหนังสือเล่มนี้ เพื่อให้ยันต์มหาปรารถนาได้แจกจ่ายไปในหมู่เหล่าชาวพุทธที่นับถือในพระพุทธศาสนาและในองค์หลวงปู่คำพันธ์
ยันต์จึงมีที่มาในครั้งโบราณ ยันต์เป็นเครื่องกำกับในเรื่องคุณธรรม ความเชื่อและศรัทธา เนื่องจากยันต์มีหลายประเภทใช้ในเรื่องความอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม ป้องกันสิ่งชั่วร้าย และความมีโชคลาภเป็นต้น

                 ที่มาของยันต์เดิมใช้เขียน(จาร)ลงในใบลาน ผืนผ้า เสื้อ และต่อมามีการสักลงในเรือนร่างของมนุษย์ (กลายเป็นจิตกรรมเคลื่อนที่) ยันต์จึงเป็นส่วนหนึ่งในความเชื่อของคนที่นับถือพุทธศาสนา ยันต์มหาปรารถนา
ที่หลวงปู่คำพันธ์ได้เขียน(จาร)ไว้ให้ลูกศิษย์ได้มีไว้ใช้และเคารพกราบไหว้ให้เกิดความเป็นสิริมงคลแห่งชีวิตของลูกศิษย์

                คุณวรวิทย์จึงเป็นบทส่งท้ายที่นำเรื่องดี ๆ ที่เป็นมงคลนำมาฝากไว้ให้ชาวพุทธที่เห็นคุณค่าทางด้านจิตใจ ความเชื่อศรัทธาในองค์หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ และยันต์มหาปรารถนายังเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
คุณวรวิทย์ได้นำยันต์มหาปรารถนามาอนุรักษ์ซึ่งเป็นของโบราณ อันเป็นประวัติศาสตร์ศาสนาตามคติความเชื่อของชาวพุทธไว้ให้ยั่งยืนสืบไป

ชัยมงคล จินดาสมุทร์
กลุ่มนักวิชาการภูพานลุ่มแม่น้ำโขง
วันศุกร์ ที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๐


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น